วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ขั้นที่ 3 นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

ธรรมดาคนเรานั้นว่าโดยทั่วไปย่อมมีความดีบ้าง มากบ้างน้อยบ้างจะหาคนดีครบถ้วนคงไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดีคนอื่นอาจจะว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดีคนอื่น อาจจะว่าเราดี ลักษณะหรือการกระทำที่ของคนอื่นๆที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เป็นจุดอ่อนหรือ ข้อบกพร่องของเราอย่างหนึ่ง อาจเป็นง่ที่ไม่ถูกใจเรา
เมื่อจุดนั้นเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา ทำให้เราโกรธก็อย่านึกแต่จุดนั้นแง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงจุดอื่นๆ ที่ดีของเขาบ้าง เช่น คนบางคนความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ แต่ก้ไม่ไปเกะกะระรานทำร้ายร่างกายใคร
บางคนแสดงออกทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือทางกายไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรืออาจพูดจามีเหตุผล แต่เขาก็รักงาน และตั้งใจทำงานในหน้าที่ของเขาดี หรือบางคนปากร้ายแต่ใจดี หรือคราวนี้เขาทำอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ความดีเก่า เขาก็มี เป็นต้น
ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจเรา ก็อย่าไปมองที่ส่วนไม่ดี พึงมองหาส่วนที่ดีของเขาเอามาระลึกถึง ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะให้มอง ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่ ! น่าสงสาร ต่อไปคนนี้คงต้องประสบภัยร้ายต่างๆ เพราะความประพฤติไม่ดีอย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น พึงระงับความโกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน



ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น