วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทำอย่างไรจะหายโกรธ

พระพุทธศาสนาเป็นศานาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้ามีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคนได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตา กรุณา ให้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกาย วาจา และมีน้ำใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทำอะไรอื่นก็ให้ แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง ขอให้อยู่เป็นสุข ปราศจากเวรภัย กันถ้วนหน้า
อย่างไรก็ตาม เมตตา มีคู่ปรับสำคัญอย่างหนึ่งคือ ความโกรธ เป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธแล้วมักทำอะไรรุนแรงออกไป ทำให้เกิดความเสียหาย ถ้าทำอะไรไม่ได้ก็หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจ ตัวเอง
ในเวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปว่อนตัวอยู่ที่ไหน ก็ไม่ยอมปรากฎให้เห็น ส่วนความโกรธ ทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอมหนีไป บางทีจนปัญญา ไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดไปอย่างไร
โบราณท่านรู้และเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือด้วยวิธีการสอนต่างๆ สำหรับระงับความโกรธ และเป็นคติแก่ทุกคน ช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตาอย่างยิ่ง จึงขอนำเสนอพิจารณากันดู ไว้เป็นขั้นๆ



ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นที่ 9 ปฏิบัติทาน คือการให้ หรือ แบ่งปันสิ่งของ

ขั้นนี้เป็นวิธีการลงมือทำ เอาของตนเองให้แก่คนที่เป็นปรปักษ์ และรับเอาของปรปักษ์มาเพื่อตน หรือย่างน้อยอาจให้ของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยะวาจา คือ ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะ ประกอบเสริมไปด้วย
การให้หรือการแบ่งปัน เป็นวิธีแก้ความดกรธที่ได้ผลชะงัด สามารถระงับเวรที่เคยผูกกันมาให้สงบลงได้ ทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร เป็นเมตตากรุราที่แสดงออกในการกระทำ ท่านกล่าวถึง อานุภาพที่ยิ่งใหญ่ของการให้ทานว่า
“การให้เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังฝึกไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงสำเร็จลงได้ ผู้ให้ก้เบิกบานขึ้นมาหาด้วยการให้ ฝ่ายผู้ได้รับก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา”

เมื่อความโกรธเลือนหายความรักใคร่ก็เข้ามาแทน ความเป็นศัตรูกลายเป็นมิตร ไฟพยาบาทกลายเป็นน้ำทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ที่รุมล้อมใจ ก็กลายเป้นความสดชื่น ผ่องใสเบิกบานใจด้วยความสุข


ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นตอนที่ 8 พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ

วิธีการข้อนี้เป็นแนวปฏิบัติใกล้แนววิปัสสนา คือเอาความรู้ทางวิปัสสนา มาใช้ประโยชน์ คือ การมองดูชีวิตนี้ มองดูสัตว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ที่ถูกที่แท้แล้วเป็นแต่เพียงส่วนประกอบทั้งหลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วสมมติเรียกกันว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา เป็นนาย ก. นาง ข. เป็นต้น

ครั้นจะชี้ชัดลงไปว่าเป็นคน เป็นเรา เป้นเขา ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง เหลวบ้าง เป็นรูปขันธ์ บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง หรือเป็น อายตนะต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น
เมื่อพิจารณาตามความจริงแยกให้เป้นส่วนๆ ได้อย่างนี้แล้วพึงสอนตัวเองว่า “นี่นะเธอเอ๋ย ก้ที่โกรธเขาอยู่น่ะ โกรธอะไร โกรธผม หรือโกรธขน หรือโกรธหนัง โกรธเล็บ หรือ กระดูก โกรธวิญญาณ หรือ โกรธอะไรกัแน่” ในที่สุดหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้ ไม่มีที่ยึดเกาะที่ให้ความโกรธจับ
อาจพิจารณาต่อไปในแนวนี้อีกว่า ในเมื่อคนเราชีวิตเรา เป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ ความจริงก็มีแต่ธาตุ หรือ ขันธ์ หรือ นามธรรม และรูปธรรมต่างๆ มาประกอบกันเข้า แล้วเราก็มาติดยึดนั้น เลยกลายเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดอยู่ร่ำไป การที่มาโกรธกระฟัดกระเฟียด งุ่นง่านเคืองแค้นกันไปนั้น มองลงไปให้ถึงแก่นสาร ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็เหลวไหลไร้สาระทั้งเพ



ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นที่ 7 พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา

ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ คือ เมตตา ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด เมตตา ก็มีคุณก่อให้เกิดผลดีมากฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสีย แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทน ให้เมตตานั่นแหละช่วยกำจัด และป้องกันความโกรธไปในตัว
ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาดไม่กลับแพ้ ผู้ตั้งอยู่ในเมตตาชื่อว่าทำประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น
เมตตา ทำให้จิตใจสดชื่น ผ่องใส มีความสุข ดังตัวอย่างในที่แห่งหนึ่ง พระพุทะเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ 11 ประการ
“หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา รักษา ไฟ พิษ และศัสตราไม่กล้ำกราย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้รวดเร็ว สีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึง พรมโลก”

ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ก็นับว่ายังห่างไกลจากการที่จะได้รับอานิสงส์เหล่านี้ ดังนั้นจึงควรพยายามทำเมตตาให้เป็นธรรม ประจำใจให้จงได้ โดยหมั่นฝึกอบรมทำใจอยู่เสมอๆ

ขั้นที่ 6 พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ

มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งว่า ในสังสาระ คือการเวียนว่านตายเกิดที่กำหนดจุดเริ่มต้นมิได้ สัตวืที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน มิใช่หาได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร พึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้บางทีอาจเคยเป็นมาร หรือ บิดา หรือ บุตร ธิดา ของเรามาก่อน
ท่านที่เป็นมารดานั้นรักษาบุตร ธิดา ไว้ในท้องตั้ง 10 เดือน ครั้นคลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดูไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิทใจ ให้ลูกนอนแนบอกเที่ยวยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้
ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก้ต้องเดินทางลำบากตรากตรำเสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบในสงครามบ้าง แล่นเรือไปในท้องทะเลบ้าง ทำงานยากลำบากอื่นๆบ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาได้ก็เพียงเพื่อที่จะคิดเลี้ยงลูกน้อย
ถึงแม้ไม่ใช่มารดา บิดา ก้อาจเป็นพี่เป็นน้อง เป็นญาติ เป็นมิตร ซึ่งได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่จะทำใจร้ายและแค้นเคืองต่อบุคคลเหล่านั้น ไม่เป็นการสมควร






ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นที่ 5 พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

พึงพิจารณาว่าทั้งเราและเขามีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำกรรมอะไรไว้ก็ได้รับผลกรรมกรรมนั้น เริ่มพิจารณาตัวเองว่า เราโกรธแล้วไม่ว่าจะทำอะไร การกระทำของเราเกิดจากโทสะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายมีแต่ความเสียหาย ไม่เกิดประโยชน์ และเราต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป
อนึ่ง เมื่อเราจะทำกรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนที่เราจะทำร้ายเขา เราก็ทำร้ายแผดเผาตัวเองเสียก่อนแล้วเหมือนเอามือทั้งสอง กอบถ่านไฟจะขว้างใส่คนอื่น ก็ไหม้มือของตนก่อน หรือ เหมือนกับเอามือ กอบอุจจาระจะไปโปะใส่เขา ก็ทำตัวนั่นแหละให้เหม็นก่อน
เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมตนเองแล้ว ก็พิจารณาฝ่ายเขาบ้างในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาโกรธเขาจะทำกรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็ต้องรับผลกรรมของเขาต่อไป กรรมชั่วนั้นจะไม่ช่วยให้เราได้รับผลดีมีความสุขอะไร มีผลร้าย เริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้น
ในเมื่อต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตนเอง เก้บเกี่ยวผลกรรมของตนเองอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าทำแต่กรรมที่ดีไปเถิด



ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นที่ 4 พิจารณาว่า ความโกรธ คือ การสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู

ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและความวินาศวอดวายแก่กันและกัน คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศให้ตัวเองได้ตั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องทำอะไรให้ลำบากก็ได้สมใจของเขาเช่น “ศัตรูปรารถนาว่า ขอให้มัน ไม่สวยไม่งาม มีผิวพรรณไม่น่าดู”
“ขอให้มันนอนเป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันเสื่อมสมบัติ ขอให้มันเสื่อมยศ ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้มันตายไปตกนรก” เป็นต้น
เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะทำผลร้ายเช่นนี้ให้เกิด แก่ตนเองตามปรารถนาของศัตรูของเขา
ด้วยเหตุนี้ ศัตรุที่ฉลาดจึงมักหาวิธีแกล้งยั่วให้ศัตรูของเขาโกรธ จะได้เผลอสติทำการผิดพลาดเพลี่ยงพล้ำ ในทางตรงข้ามถ้าสามารถครองสติได้ ถึงกระทบอารมณ์ที่น่าโกรธก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ผิดเพี้ยน ทำการงานธุรของตนไปได้ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็นทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเราประโยชน์ที่ต้องการก็สำเร็จไม่มีอะไรเสียหาย
อาจสอนตัวเองดังต่อไปนี้ว่า

“ถ้าศัตรูทำทุกข์ให้ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดทำทุกข์ที่ใจตนเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายศัตรูสักหน่อยเลย”
“ความโกรธเป็นตัวตัดรากความประพฤติดีงามทั้งหลายที่เจ้าตั้งใจรักษา เจ้ากลับไปพะนอความโกรธนั้นไว้ ถามหน่อยเถอะใครจะเซ่อเหมือนเจ้า”
“เจ้าโกรธว่าคนอื่นทำกรรมที่ป่าเถื่อน แล้วไยเจ้าจึงปรารถนาจะทำกรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า”
“แล้วนี่เจ้าโกรธ มาแล้วจะทำทุกข์ให้เขาได้หรือไม่ก็ตาม แต่แน่ๆ เจ้าได้เบียดเบียนตัวเองเข้าแล้วด้วยความทุกข์ใจเพราะโกรธนั่นแหละ”




ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นที่ 3 นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

ธรรมดาคนเรานั้นว่าโดยทั่วไปย่อมมีความดีบ้าง มากบ้างน้อยบ้างจะหาคนดีครบถ้วนคงไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดีคนอื่นอาจจะว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดีคนอื่น อาจจะว่าเราดี ลักษณะหรือการกระทำที่ของคนอื่นๆที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เป็นจุดอ่อนหรือ ข้อบกพร่องของเราอย่างหนึ่ง อาจเป็นง่ที่ไม่ถูกใจเรา
เมื่อจุดนั้นเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา ทำให้เราโกรธก็อย่านึกแต่จุดนั้นแง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงจุดอื่นๆ ที่ดีของเขาบ้าง เช่น คนบางคนความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ แต่ก้ไม่ไปเกะกะระรานทำร้ายร่างกายใคร
บางคนแสดงออกทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือทางกายไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรืออาจพูดจามีเหตุผล แต่เขาก็รักงาน และตั้งใจทำงานในหน้าที่ของเขาดี หรือบางคนปากร้ายแต่ใจดี หรือคราวนี้เขาทำอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ความดีเก่า เขาก็มี เป็นต้น
ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจเรา ก็อย่าไปมองที่ส่วนไม่ดี พึงมองหาส่วนที่ดีของเขาเอามาระลึกถึง ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะให้มอง ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่ ! น่าสงสาร ต่อไปคนนี้คงต้องประสบภัยร้ายต่างๆ เพราะความประพฤติไม่ดีอย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น พึงระงับความโกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน



ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นที่2 พิจารณาโทษของความโกรธ

ในขั้นนี้พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มากมาย เช่นว่า
“คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป็นทุกข์ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้นแหละ คือ ภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัว”

“พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธเข้าครอบงำ มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะเผาผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากเหมือนทำง่าย แต่ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนไฟเผา”

“แรกจะโกรธนั้นก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อน เหมือนมีควันก่อนไฟจะเกิด พอความโกรธแสดงเดชทำให้คนเดือดดาลได้ คราวหนี้ล่ะไม่กลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคำก็ไม่มีคารวะ ฯลฯ”

ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้ เป็นตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทานต่างๆ และชีวิตจริงก็มีมากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าความโกรธ มีแต่ทำให้เกิดความเสียหายและความพินาศ ไม่มีผลดีอะไรเลย จึงควรฆ่ามันทิ้งเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย “ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วไม่โศรกเศร้าเลย”




ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์

ขั้นที่ 1 นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ

ขั้นที่ 1 นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ เช่น

ก. สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเรามีพระมหากรุณาธิคุณและทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนมีเมตตา เรามัวมาโกรธไม่ระงับความโกรธ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่สมกับเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า ฉนั้นจงรีบทำตนเป็นศิษย์ของพระองคื และ จงเป็นชาวพุทธที่ดีด้วย
ข. พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า คนที่ดกระเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มีสติเท่าทันหลงโกรธตอบกลับเขาไป ก็เท่ากับสร้างความเลวเพิ่มขึ้น นับว่าเลวหนักกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก เราอย่าเป็นทั้งคนเลวและคนเลวกว่านั้นเลย
ค. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกว่า เขาโกรธมา เราไม่โกรธตอบ อย่างนี้เรียกว่า ชนะสงครามที่ชนะยาก เมื่อรู้ทันว่าคนอื่นเขาขุ่นเคืองมา เรามีสติระงับใจไว้เสียเราไม่โกรธตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและตัวเราเอง
เพราะฉะนั้นอย่าทำตัวเป็นผู้แพ้สงครามเลย จงเป็นผู้ชนะสงครามและ เป็นผู้สร้างประโยชน์เถิด




ที่มา : หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ, พระพรหมคุณาภรณ์